เทคนิคเทพ ๆ ที่จะเสริมงานพิมพ์แพคเกจจิ้งของคุณให้ดูว้าวมากขึ้น
แพคเกจจิ้งสวย ๆ เป็นส่วนหนึ่งที่ช่วยทำให้ลูกค้าเกิดความเชื่อมั่นและตัดสินใจซื้อสินค้าของเราได้เร็วขึ้น การออกแบบและพิมพ์แพคเกจจิ้งจึงเป็นอีกสิ่งหนึ่งที่เจ้าของธุรกิจควรจะต้องใส่ใจ ในวันนี้มีโรงพิมพ์ไม่มีขั้นต่ำหลายแห่งที่รับออกแบบและพิมพ์แพคเกจจิ้งเพื่อตอบสนองกลุ่มลูกค้าผู้ประกอบการ ซึ่งโรงพิมพ์เหล่านี้ล้วนมีประสบการณ์และเทคนิคที่น่าสนใจในการพิมพ์กล่องบรรจุภัณฑ์ต่าง ๆ บอกเลยว่าพิมพ์ออกมาไม่ใช่แค่สวยแต่ยังช่วยให้แบรนด์ปังได้ง่ายด้วย มาดูกันดีกว่าว่าโรงพิมพ์เหล่านี้มีเทคนิคเสริมงานพิมพ์แพคเกจจิ้งอะไรที่ทำให้งานออกมาดูว้าวและมีความน่าสนใจ
โรงพิมพ์ไม่มีขั้นต่ำกับเทคนิคการปั๊มแพคเกจจิ้ง
ในหลาย ๆ พื้นที่ของกรุงเทพมหานครมีโรงพิมพ์ที่สามารถพิมพ์แพคเกจจิ้งสวย ๆ มีคุณภาพสวยอยู่หลายแห่งด้วยกัน อย่างโรงพิมพ์สาธุประดิษฐ์หรือในย่านใกล้ ๆ ก็นับว่าเป็นหนึ่งโซนที่มีการรับพิมพ์งานแพคเกจจิ้ง อีกทั้งโรงพิมพ์เหล่านี้เป็นโรงพิมพ์ไม่มีขั้นต่ำ แถมยังมีเทคนิคการพิมพ์ที่ไม่ธรรมดาด้วย เทคนิคแรกที่โรงพิมพ์เหล่านี้นิยมใช้เพื่อสร้างความสวยงามแตกต่างให้กับการพิมพ์กล่องบรรจุภัณฑ์ต่าง ๆ ก็คือ เทคนิคการปั๊ม ซึ่งเทคนิคดังกล่าวนี้หลัก ๆ ก็จะมีอยู่ 3 แบบด้วยกันนั่นคือ
- Embossing: เป็นเทคนิคปั๊มนูน โดยจะมีการนำกล่องบรรจุภัณฑ์ไปกดกับแม่พิมพ์ ทำให้สัญลักษณ์ต่าง ๆ ที่ตัวกล่องดูมิติมากยิ่งขึ้น
- Foiling: เป็นเทคนิคการใช้ฟอยล์หลากหลายสี มากดทับลงไปบนกล่องบรรจุภัณฑ์ ทำให้ตัวกล่องดูมีลวดลายที่โดดเด่นและมีความหรูหราขึ้นมา สำหรับคำเรียกที่ใช้วงการพิมพ์ก็จะเรียกเทคนิคนี้ว่าการปั๊มเค
- Debossing: เป็นเทคนิคปั๊มจม กล่าวได้ว่าเป็นเทคนิคที่ตรงข้ามกับปั๊มนูน ตัวพื้นผิวของกล่องบรรจุภัณฑ์จะมีรอยที่จมลงไปก็ดูมีมิติที่สวยงามไปอีกแบบ
เทคนิคการปั๊มทั้งสามแบบนี้ถือว่าเป็นเทคนิคเสริมการพิมพ์ที่โรงพิมพ์หลาย ๆ นิยมนำมาใช้สร้างความพิเศษให้กับการออกแบบแพคเกจจิ้งนั่นเอง
เทคนิคอื่น ๆ ที่โรงพิมพ์ไม่มีขั้นต่ำชั้นนำเลือกใช้
นอกจากเทคนิคดังที่กล่าวมาข้างต้นแล้ว โรงพิมพ์ชั้นนำระดับแถวหน้าที่เป็นโรงพิมพ์ไม่มีขั้นต่ำก็ยังมีการนำเทคนิคการพิมพ์อีกหลายเทคนิคมาช่วยเสริมงานพิมพ์แพคเกจจิ้งให้กับลูกค้าธุรกิจต่าง ๆ ด้วย ยกตัวอย่างเช่น
- Spot UV: เป็นเทคนิคการเคลือบอีกแบบหนึ่ง โดยจะมีการนำแผ่นฟิล์มมาทาบลงไปที่ตัวกล่องบรรจุภัณฑ์แล้วใช้แสง UV เคลือบเพื่อให้แผ่นฟิล์มติดไปกับกล่องบรรจุภัณฑ์ ช่วยทำให้บรรจุภัณฑ์ดูทันสมัยขึ้น
- Popup: เทคนิคนี้อาจจะไม่ใช่เทคนิคการพิมพ์โดยตรงแต่ก็มีความเกี่ยวข้องกัน เทคนิคนี้จะเป็นเทคนิคการออกแบบรูปทรงกล่องให้มีส่วนที่ยื่นออกมาดูคล้าย 3 มิติ ซึ่งการออกแบบรูปทรงกล่องแบบนี้ก็จะต้องสอดคล้องกับงานพิมพ์ด้วยถึงจะทำให้ส่วนที่ยื่นออกมามีความสวยงามโดดเด่นดูสะดุดตา เหล่านี้เป็นต้น
นี่คือเทคนิคพิเศษต่าง ๆ ที่โรงพิมพ์ไม่มีขั้นต่ำที่เป็นโรงพิมพ์ชั้นนำต่างเลือกใช้สำหรับการพิมพ์กล่องบรรจุภัณฑ์แบบต่าง ๆ อันเป็นเทคนิคที่ช่วยทำให้ตัวกล่องบรรจุภัณฑ์ดูดีและแตกต่าง ใครที่กำลังจะพิมพ์แพคเกจจิ้งลองทำความรู้จักไว้ก็ไม่เสียหาย เผื่อจะได้เลือกเทคนิคที่เหมาะสมกับสินค้าของตนเองได้ง่ายมากขึ้น
Leave A Comment